ใบงานที่ 14 blog กับ Go to Know

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

จุดเด่นของ blog
- เป็นเวปบล็อกที่ให้พื้นที่ในการทำงาน เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ฟรี
- เป็นจุดและสถานที่ที่ได้เจอเพื่อนหลากหลายไร้พรมแดนในการสนทนาทุกรูปแบบ
- เป็นแหล่งข้อมูลด้านต่างๆ เช่นทางธุรกิจ ทางการศึกษาเพื่อจะได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเว็ปบล็อก
- เป็นคลังข้อมูลของตนเองเพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ และแชร์ประสบการณ์ต่างๆ ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
- เป็นสื่อ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการ
- เป็นแหล่งในการค้นคว้าหาข้อมูลและอัปเดทข้อมูลได้ตลอดตามความต้องการ
- ส่งเสริมการใช้สื่อที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการตกแต่งมัลติมีเดียต่างๆ เข้าด้วยกัน
- เป็นเวปบล็อกที่น่าสนใจใช้งานหลากหลายสไตล์ตามความต้องการ
- ส่งเสริม และพัฒนาทักษะความสามารถในการสร้างแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเองบนโลกไซเบอร์
จุดด้อยของ blog
- เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระมากเกินไป
- เวปฟรีมีโอกาสถูกยกเลิกได้ตลอดเวลา
- ขาดการควบคุม ดูแลจากเซิฟร์เวอร์ ในกรณีที่โพสต์ข้อความ หรือสื่อที่ไม่เหมาะสม
- บทความขาดความเชื่อถือไม่ได้คัดกรองก่อนจะลงเวปบล็อก
- เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้ออกแบบเวปสมัครเล่น ไม่เหมาะสมกับผู้ที่เขียนเวปโดยใช้ภาษา html หลายๆ ภาษา เพราะ Code เป็นภาษา html


ความแตกต่างระหว่าง blogspot และ gotokhow
- gotoknow ส่วนใหญ่จะมีอาชีพรับราชการ หรืออาชีพที่ชัดเจนแน่นอน เหมาะสำหรับคนวัยทำงานสามารถตรวจสอบได้เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางวิชาการ แต่ blogspot เหมาะสำหรับการโพสต์ข้อความทั่วไป
- Gotokhow จะปรากฏใน blog กลางของ gotokhow ด้วย แต่ blogspot ข้อความจะปรากฏเฉพาะใน blog ตัวเองเท่านั้น
- Gotokhow มีผู้คอยดูแลระบบกลาง แต่ blogspot ไม่มีผู้คอยดูแลระบบ
- Gotokhow มีการประเมินผลการเขียนบล็อก มีสถิติแสดงจำนวน แต่ blogspot ไม่มีในส่วนนี้
- Gotokhow ตกแต่ง blog ได้น้อย ซึ่งแตกต่างจาก blogspot ซึ่งผู้เขียนสามารถตกแต่ง blog ได้หลากหลาย ทำให้สร้างแรงจูงใจในการทำ blog ได้มากกว่า gotokhow

ใบงานที่ 13

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553










โครงการพัฒนานักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา กิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการสถานศึกษาภาคกลาง – ภาคอีสาน วันที่ 17 - 22 มกราคม 2553การศึกษาดูงานโรงเรียนอนุบาลหนองคาย ได้รับการต้อนรับอย่างดีจากผู้อำนวยการนายสัมฤทธิ์ เจริญดี และคณะครูที่มาต้อนรับ สำหรับโรงเรียนอนุบาลหนองคายเปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,002 คน 49 ห้องเรียน ผลงานของโรงเรียนอนุบาลหนองคาย 1. โรงเรียนรางวัลพระราชทานระดับประถมศึกษา2. โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง3. โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 25514. โรงเรียนต้นแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย5. โรงเรียนวิถีพุทธ6. โรงเรียนส่งเสริมสุภาพ7. โรงเรียนดีศรีหนองคายซึ่งในการเข้าเยี่ยมชมในครั้งนี้ผู้บริหารได้มาต้อนรับและทำการบรรยายถึงยุทธวิธีการบริหารโรงเรียนให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพการศึกษาดูงานประเทศลาว ได้มีโอกาสเข้าสู่ประเทศลาวซึ่งเป็นบ้านพี่เมืองน้องของไทยวิถีชีวิตของคนลาวมีส่วนคล้ายคลึงกับประเทศไทยมากแต่ความเจริญก้าวหน้ายังล้าหลังกว่าประเทศไทย คนลาวมีวิถีชีวิตที่ค่อนข้างเรียบง่าย คนลาวสามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดีการศึกษาดูงานที่หมู่บ้านงูจงอาง ที่บ้านโคกสง่า ตำบลทรายมูล ได้ร่วมดูการแสดงคนกับงูจงอาจ ซึ่งเป็นการแสดงที่ค่อนข้างอันตรายคนที่ไม่มีประสบการณ์จะลองทำไม่ได้ ชีวิตคนที่นั้นยังเป็นสังคมชนบทอยู่มาก มีการหาสมุนไพรมาขาย และได้รับการต้อนรับที่ดีจากชุมชนที่นั้นการศึกษาที่จังหวัดเพชรบุรี ณ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ได้เข้าพักบ้านพักและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันในตอนเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่มตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับความคาดหวังในผลการเรียนขอให้อาจารย์พิจารณาตามความเหมาะสม

ใบงานที่ 12

การใช้งานโปรแกรม SPSS โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง-การเริ่มต้นสู่โปรแกรมเมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editorข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไปSPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่Data View : เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10point)Variable View : เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร ( มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น•การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editorสำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่•การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่นโดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง•การป้อนข้อมูลโดยตรงในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล•เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics ดังรูป โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้น

ใบงานที่ 11

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอน
อาจารย์มีความตั้งใจในการสอนสูง ความรู้ความสามารถในเรื่องนวัตกรรมชัดเจน แต่ในการสอนแต่ละครั้งอาจารย์ป้อนเนื้อหามากเกินไป ผู้สูงวัยอย่างหนูรับไม่ค่อยทัน ถ้าอาจารย์ลดเนื้อหาให้น้อยลงและอธิบายหรือสอนให้ช้าลงกว่าเดิม ให้มีช่วงเวลาพักเบรกบ้างก็ดี

ใบงานที่ 8

1.ความหมายของคำว่าสถิติ (Statistics) หมายถึงตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
2.ค่าเฉลี่ย หรือค่ามัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic mean) คือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด ความหมายเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายค่ามัธยฐาน (Median) คือค่าของข้อมูลที่จุดกึ่งกลางของการกระจายของข้อมูลโดย 50% ของข้อมูลมี ค่าสูงกว่าค่า มัธยฐาน และ 50% มีค่าต่ำกว่าค่ามัธยฐาน และมักใช้ในกรณีที่ การกระจายของข้อมูลมีลักษณะไม่เท่ากันทั้งสองข้าง (Asymmetry) หรือมีลักษณะเบ้ไปทางซ้ายหรือทางขวาเป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายค่าฐานนิยม (Mode) คือค่าของข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในข้อมูลของชุดนั้นๆ ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งค่าหรือไม่มีเลยก็ได้ เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยายส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลว่าจะเบี่ยงเบนไปจากค่าเฉลี่ยมากน้อยเท่าใด เป็นสถิติเชิงพรรณนา/บรรยาย
3.ประชากร (Population) หมายถึง กลุ่มสมาชิกทั้งหมดที่ต้องการศึกษา อาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ ใช้สัญลักษณ์ “N” แทนจำนวนประชากรกลุ่มตัวอย่าง (Sample) หมายถึง กลุ่มสมาชิกที่ถูกเลือกมาจากประชากรด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งเพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาและเก็บข้อมูล ใช้สัญลักษณ์ “n” แทนสมาชิกของกลุ่มตัวอย่างประชากรและกลุ่มตัวอย่างต่างกัน เพราะกลุ่มตัวอย่างเป็นเพียงสมาชิกส่วนหนึ่งของประชากรที่ถูกคัดเลือกมาใช้ในการศึกษาด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น ถ้าครุผู้สอนต้องการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ซึ่งนักเรียนมีจำนวนมาก ครูผู้สอนในฐานะนักวิจัยไม่สามารถศึกษาจากประชากร(นักเรียนชั้น ม.2)ทั้งหมดได้จึ้งคัดเลือกนักเรียนชั้น ม.2 มาบางส่วนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น โดยใช้ตารางเลขสุ่ม หรือคำนวนด้วยสูตรอื่นๆ ผลที่ได้จากการศึกษาจะอ้างอิงไปสู่ประชากรทั้งหมดได้
4. มาตรนามบัญญัติ (Nominal Scale)-เป็นมาตรวัดที่หยาบที่สุด จัดข้อมูลออกเป็นกลุ่มๆ แยกตามประเภทหรือชนิด-สถิติ : ความถี่ ร้อยละ ฐานนิยม หรือใช้สถิติแบบนอนพาราเมตริก-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่ไม่มีขนาด ไม่มีความเท่ากันของช่วง และไม่มีศูนย์สมบูรณ์ มาตรเรียงลำดับ (Ordinal Scale)-เป็นมาตรวัดที่ใช้กับข้อมูลที่สามารถจัดเรียงอันดับความสำคัญหรือสามารถเปรียบเทียบกันได้-สถิติ : ฐานนิยม มัธยฐาน พิสัย เปอร์เซนต์ไทล์ และสถิติแบบนอนพาราเมตริก-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีการจัดลำดับข้อมูลจากมากไปน้อย หรือจากน้อยไปมากได้ แต่ไม่ได้บอกถึงปริมาณแต่ละอันดับว่ามากน้อยเท่าใด ไม่มีความเท่ากันของช่วงคะแนน และไม่มีศูนย์สมบูรณ์มาตรอันตรภาค (Interval Scale)-เป็นมาตรวัดที่สามารถบอกได้ทั้งทิศทางและขนาดของ ความแตกต่างของข้อมูล มาตรวัดนี้ไม่มีศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero)-สถิติ : ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่สามารถบอกระยะห่างของตัวเลข 2 ตัว ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเท่าใด มีเกณฑ์อยู่กับสิ่งที่เรียกว่าศูนย์สมมติ มาตรอัตราส่วน (Ratio Scale)-เป็นมาตรวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง ดีกว่ามาตรวัดอันตรภาคตรงที่มาตรการวัดนี้มีศูนย์ที่แท้จริง-สถิติ : สถิติที่ใช้กับการวัดในระดับนี้ใช้ได้ทุกวิธีที่มีอยู่-ตัวแปร : เป็นตัวแปรที่มีระดับการวัดเหมือนมาตราอันตรภาค และมีศูนย์สมบูรณ์ ข้อมูลที่เป็นอัตราส่วนสามารถนำมาบวก ลบ คูณ หาร ได้ และสามารถใช้ได้กับสถิติทุกประเภท5. ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่า เป็นลักษณะคุณภาพ คุณสมบัติของบุคคล สิ่งของ หรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะ เช่นเชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป ตัวแปรต้นจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรเหตุ เป็นตัวแปรที่มาก่อน เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง มีลักษณะเป็นตัวทำนาย เป็นตัวกระตุ้นหรือ มีความคงทน ถาวรตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ เป็นตัวแปรที่เป็นผลเกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง เป็นตัวถูกทำนาย เป็นตัวตอบสนอง เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตัวอย่าง เช่น การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.2 โดยใช้การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาตัวแปรต้น คือ การสอนตามคู่มือครูกับการสอนโดยการใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษาตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ6.สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ผลการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดยมีทฤษฎีหรือข้อค้นพบจากผลงานวิจัยที่ผ่านมามารองรับ เป็นคำตอบที่คาดการณ์ไว้ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยจริง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - สมมติฐานการวิจัย เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นมักจะเขียนในเชิงความเรียงธรรม- สมมติฐานทางสถิติ เป็นการนำข้อความจากสมมติฐานการวิจัยมาเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ทางสถิติ
7. T-test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย เหมาะสำหรับถ้าตัวแปรเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่สามารถวัดค่าได้ F – test (หรือ ANOVA) เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไปT-test และ F – test เหมือนกันคือเป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ย ต่างกันคือ F – test เป็นการทดสอบนัยสำคัญของค่าเฉลี่ยของข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป

ใบงานที่ 7

สรุปใบงานครั้งที่ 7
(1) การใส่ปฏิทิน
(2) การใส่นาฬิกา
(3) การทำสไสด์
(4) การปรับแต่งสีใน Webboard
(5) การใส่เพลงลงใน Webboard ให้นักศึกษาสรุปแต่ละประเด็นย่อ ๆ
การใส่ ตกแต่งบล๊อก ด้วยปฏิทิน นาฬิกา สไลด์รูปต่างๆ เปลี่ยนสีในรูปแบบ และเพลงนั้น จำเป็นจะต้องใช้โค้ด(ภาษา HTML) ซึ่งเป็นโค้ดที่ต้องเพิ่มใน Gadget ซึ่งเมนูการเพิ่มจะอยู่ที่ แผงควบคุม ---> รูปแบบ ---> เพิ่ม Gadget ---> เพิ่มจาวา/HTML ---> วางโค้ดของปฎิทิน/นาฬิกา/เพลงที่เราได้คัดลอกมาจากโค้ดที่เราค้นหาโดยใช้ Google ---> แล้วสั่งบันทึก ซึ่งจะกลับมาที่หน้ารูปแบบ--->สั่งบันทึกอีกครั้ง--->จะขึ้นข้อความว่าได้"ได้บันทึกการเปลี่ยนแปลงแล้ว ดูบล๊อก" ---> ซึ่งสามารถดูบล๊อกได้ว่าเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่สำหรับการค้นหาโค้ด โดยใช้ Google นั้น เมื่อเข้าเว็บ Google แล้วใช้คำค้นหา เช่น โค้ดเพลง/โค้ดปฏิทินแต่งบล๊อก/โค้ดนาฬิกา / โค้ดแต่งบล๊อก /หรือระบุเพลงที่ต้องการ เช่น โค้ดเพลงอวยพรวันเกิด/โค้ดเพลงร๊อก/โค้ดเพลง(ชื่อเพลง) เมื่อได้หน้าเว็บGoogle ที่ขึ้นผลการค้นหาแล้ว เลือกเปิดลิงค์ต่าง ๆ ก็จะได้หน้าเว็บบางเว็บอาจต้องดาวน์โหลดโค้ด บางเว็บก็ copy โค้ดได้เลยเมื่อได้โค้ดแล้ว select code แล้วนำไปวางใน Gadget ที่ได้สั่งเพิ่ม HTML/จาวาสคริปต์

ใบงานที่ 6

ใบงานที่ 6ให้นักศึกษาเสนอวิธีการใช้ http://www.google.co.th/www.google.co.th ใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. Google ช่วยแปลเว็บไซต์ที่เราค้นหาได้ที่เป็นภาษาอื่น มิใช่ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สเปน ฯลฯ ให้เป็นเว็บภาษาอังกฤษได้ ด้วยการคลิกที่ Language Tools (เครื่องมือเกี่ยวกับภาษา) ที่หน้าแรกของ Google เพื่อเปิดการทำงานของตัวแปลภาษา หรือให้แปลเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ทั้งหน้าได้ โดยใส่ชื่อ URL ที่ต้องการให้ Google แปลลงในกรอบ Translate the Website
2. ค้นหาโดยระบุคำสั่งพิเศษ โดยใช้การค้นหาแบบ Advanced Search (ค้นหาแบบละเอียด) เพื่อบอก ให้ Google จำกัดขอบเขตการค้นหาให้เหลือเฉพาะหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Google ในช่วง 3 เดือน, 6 เดือน หรือ 12 เดือน ที่ผ่านมาเท่านั้น
3.สามารถค้นหาไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในรูป doc, pdf, ps ฯลฯ ได้ด้วยการกำหนดรูปแบบเอกสารของผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง
4.ค้นด้วยคำที่มีความหมายเหมือนกัน โดยให้ใส่เครื่องหมาย Tilde (~) หน้าคำที่ต้องการค้นหา โดยไม่ต้องเว้นวรรค Google จะค้นหาคำ Synonym ของคำที่เราต้องการค้นหาให้ด้วย
5.ค้นหาเฉพาะกลุ่ม โดยใช้ Special Google Searches เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการค้นหา
6.ใช้ Google ช่วยในการคำนวณ
7.ชอปปิ้งด้วย Google : Froogle
8.ตรวจสอบราคาหุ้นของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นของอเมริกา
9.สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐอ้างอิง http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=3872ac8a53e03acf
2. การค้นหาข้อมูลขั้นสูงมีวิธีการอย่างไร
1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ)
8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือAdobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)
9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)
10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
12.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย
14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ
15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์first name (or first initial), last name, city (state is optional)first name (or first initial), last name, statefirst name (or first initial), last name, area codefirst name (or first initial), last name, zip codephone number, including area codelast name, city, statelast name, zip codeแล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com )
17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทยอ้างอิง http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=91026.0

3. web ที่ใช้ค้นหาข้อมูลนอกจาก googleตัวอย่างเว็บไซต์เครื่องค้นหาได้แก่ http://www.yahoo.com, http://www.infoseek.com, http://altavista.com, http://thaiseek.comอ้างอิง http://www.sa.ac.th/elearning/index33.htm4. การกำหนดหมวดหมู่ในการค้นหา โดยใช้ googleค้นหารูปได้แสนง่ายความสามารถที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบกันนักหนา และสร้างชื่อให้กับ Google ก็คือการค้นหารูปภาพด้วย Google Search ครับ วิธีการใช้ก็คือ 1. คลิกเมนูลิ้งค รูปภาพ จากนั้นก็พิมพ์ชื่อภาพที่ต้องการค้นหา และคลิกปุ่มค้นหารูปภาพ- Google ค้นหาไฟล์ได้ Google สามารถค้นหาไฟล์เอกสารที่สำคัญๆ ได้ดังนี้ Adobe Portable Document Format ( ไฟล์นามสกุล . pdf) Adobe PostScript ( ไฟล์นามสกุล . ps) Lotus 1-2-3 ( ไฟล์นามสกุล . wk1, .wk2, .wk3, .wk4, .wk5, .wki, .wks และ . wku) Lotus WordPro ( ไฟล์นามสกุล . lwp) MacWrite ( ไฟล์นามสกุล . mw) Microsoft Excel ( ไฟล์นามสกุล . xls) Microsoft PowerPoint ( ไฟล์นามสกุล . ppt) Microsoft Word ( ไฟล์นามสกุล . doc) Microsoft Works ( ไฟล์นามสกุล . wks, .wps, .wdb) Microsoft Write ( ไฟล์นามสกุล . wri) Rich Text Format ( ไฟล์นามสกุล . rtf) Shockwave Flash ( ไฟล์นามสกุล . swf) Text ( ไฟล์นามสกุล . ans, .txt)- เว็บไซต์ที่ถูกลบไปแล้ว Google ก็ยังค้นหาได้อยู่ เพราะก่อนหน้านี้เว็บไซต์ที่ถูกลบเหล่านั้นได้ถูกบรรจุหรือจัดเก็บไว้ในเครื่องที่เรียกว่า Cache ของ Google ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ เช่น บางลิงค์ที่ผู้ใช้งานคลิกเข้าชมไม่ได้อันเนื่องมาจากถูกลบออกไปแล้ว ผู้งานก็เพียงแต่คลิกที่เมนู หน้าที่ถูกเก็บไว้ ครับ- ค้นหาหน้าเว็บที่มีข้อมูลคล้ายกันได้ในบางครั้งเมื่อ Cache จะไม่สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาเว็บไซต์นั้นได้ แต่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน โดคลิกไปยังเมนู หน้าที่คล้ายกัน ครับ- Google สามารถค้นหาเว็บทั้งหมดที่เชื่อมมายังเว็บนั้นได้โดยพิมพ์ link: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น link:www.plawan.com เป็นการค้นหาลิงค์ที่เชื่อมมายังเว็บของปลาวาฬดอตคอมเป็นต้น- Google สามารถหาคำเฉพาะเจาะจงในเว็บไซต์นั้นๆ ได้ โดยพิมพ์ คำที่ค้นหา site: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น Google Earth site:www.kapook.com ซึ่งเป็นการหาหน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ Google Earth ในเว็บไซต์ของ Kapook นั่งเองครับ- ค้นหาแบบวัดดวงกันบ้าง จะวัดดวงค้นหาเว็บไซต์ด้วย Google กันสักครั้งคงไม่เป็นไร เพราะถ้าดวงดีผู้ใช้ก็จะได้ไม่เสียเวลามานั่นเลือกให้เมื่อตุ้มครับ โดยพิมพ์ Keyword สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการจากนั้นคลิกที่ปุ่ม ดีใจจัง ค้นหาแล้วเจอเลย- ค้นหาบทสรุปของหนังสือก่อนตัดสินใจซื้อ ก่อนการตัดสินใจที่จะซื้อหนังสือสักเล่ม ผู้ใช้น่าจะทราบก่อนว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง หรือมีโอกาสได้ดูสารบัญของหนั้งสือเล่มนั้นเสียก่อนครับ Google Search สามารถบอกผู้ใช้ได้เพียงใส่ชื่อหนังสือหลังคำว่า books about ชื่อหนังสือ เช่น books about Harry Potter อ้างอิง http://www.kapook.com/google/search/